[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 5 มาสร้างเกมแรกกันเถอะ - Printable Version +- irpg Community (https://irpg.in.th) +-- Forum: Imperial School of Art, Literature and Design (https://irpg.in.th/forum-41.html) +--- Forum: Literature & Design Library (https://irpg.in.th/forum-14.html) +--- Thread: [สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 5 มาสร้างเกมแรกกันเถอะ (/thread-3085.html) |
[สอนสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 5 มาสร้างเกมแรกกันเถอะ - Mikichan - 04-28-2017 ติดตามเราได้ที่ Facebook ชื่อเพจ Planila Game Developer หลังจากที่ได้อ่านเนื้อหาทฤษฎีมา 4 บทแล้ว ตั้งแต่บทที่ 1 ปฐมบท - เกม (Game), บทที่ 2 เกมเอนจิน (Game Engine), บทที่ 3 อัลกอรึทึม (Algorithm) และบทที่ 4 นิพจน์ (Expression) มาถึงบทนี้ผู้อ่านหลายคนคงอยากลองสร้างเกมจริง ๆ ขึ้นมาบ้างแล้ว ในบทนี้ผู้เขียนเลยจะมาพาผู้อ่านทุกคนมาสร้างเกมแรกกัน ไม่ต้องตกใจไปหรอก บางคนอาจสงสัยว่า "เพิ่งเรียนแค่นิดเดียวจะมีความรู้พอให้สร้างเกมได้หรือ?" คำตอบคือได้แน่นอน การสร้างเกมไม่ต้องใช้ความรู้มากก็ได้ เพียงแค่ทราบพื้นฐานที่จำเป็นก็พอ สิ่งที่สำคัญในการสร้างเกมเลยคือการนำอัลกอริทึมมาประยุกต์ใช้ ในบทนี้เราจะมาสร้างเกม TicTacToe หรือที่เราเรียกภาษาบ้าน ๆ ว่าเกม XO กัน ผู้อ่านก็ลองสร้างเกมนี้ตามไปพร้อม ๆ กันเลย จะนำตัวอย่างเกมในบทนี้ไปสร้างจริง ๆ ได้อย่างไร? เนื่องจากบทความ "เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง" เป็นบทความเชิงทฤษฎีที่ไม่เจาะจงอุปกรณ์ ภาษาอุปกรณ์ และเกมเอนจินใด ๆ ดังนั้นตัวอย่างเกมในบทความนี้จะใช้ Pseudo Code ในการอธิบายเป็นหลัก ผู้อ่านจะต้องแปลง Pseudo Code เหล่านี้เป็นภาษาอุปกรณ์หรือคำสั่งในเกมเอนจินที่ผู้อ่านใช้เอาเอง ส่วนวิธีแปลง Pseudo Code เป็นภาษาอุปกรณ์หรือคำสั่งในเกมเอนจิน ผู้อ่านต้องศึกษาคำสั่งต่าง ๆ จากบทความที่สอนภาษาอุปกรณ์หรือเกมเอนจินตัวนั้น แล้วเลือกใช้คำสั่งที่คล้ายหรือใกล้เคียงกับ Pseudo Code มากที่สุด ตัวอย่างเกมในบทนี้จะเลือกใช้คำสั่งที่ง่ายสำหรับมือใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถแปลง Pseudo Code ได้ง่ายที่สุด ขั้นตอนการสร้างเกมคร่าว ๆ มีอะไรบ้าง? 1. ออกแบบเกมคร่าว ๆ ว่าอยากให้เกมเป็นแบบไหน เล่นสองคนหรือเล่นคนเดียว ใช้ภาษาอุปกรณ์หรือเกมเอนจินอะไรในการสร้าง 2. สร้างโปรเจคใหม่ แล้วตั้งชื่อโปรเจคตามที่ต้องการ 3. เขียนอัลกอริทึมของเกม สำหรับมือใหม่ควรเขียนอัลกอริทึมแบบภาพรวมคร่าว ๆ ก่อน แล้วค่อยเขียนอัลกอริทึมแบบละเอียด เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของเกมก่อน แล้วคอยเจาะรายละเอียด 4. ใส่คำสั่งจากอัลกอริทึมแบบละเอียดลงในโปรแกรมเขียนภาษาอุปกรณ์หรือเกมเอนจินที่เลือกใช้ 5. ทดสอบเกมว่าถูกต้องตามที่เราต้องการหรือไม่ ถ้าเกมมีข้อผิดพลาดก็ต้องแก้ไขคำสั่งแล้วทดสอบใหม่ 6. เมื่อเกมเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็สร้างเกมเป็นไฟล์สำเร็จรูปที่ไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเขียนภาษาอุปกรณ์หรือเกมเอนจินอีกต่อไป (Export โปรเจค) ออกแบบเกมอย่างไรดี? การออกแบบเกมต้องกำหนดรูปแบบของเกมอย่างคร่าว ๆ ในตัวอย่างเกมนี้จะออกแบบเกม ดังนี้ ชื่อเกม : TicTacToe จำนวนผู้เล่น : สองคน (เพื่อความง่ายในการสร้างเกม) กติกาการเล่น : ผู้เล่นฝั่งไหนเรียงสัญลักษณ์ของตนเอง (X หรือ O) เป็นเส้นตรงได้ 3 ตัวก่อนเป็นฝ่ายชนะ เวลาที่ใช้ในการเล่น : ประมาณ 1-2 นาที ...... นี่เพิ่งแค่ 39% ของบทความนี้เท่านั้น บทความฉบับเต็มมีเยอะกว่านี้อีก! เนื่องจากติดปัญหาเรื่องนโยบายการเผยแพร่บทความ ทำให้เราไม่สามารถเผยแพร่บทความฉบับเต็มลงในเว็บนี้ได้ อ่านฉบับเต็มได้ที่บทความต้นฉบับ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) บทความต้นฉบับ https://planila.blogspot.com/2017/04/5.html RE: [พื้นฐานสร้างเกม] เรียนสร้างเกมกับมิกิจัง : บทที่ 5 มาสร้างเกมแรกกันเถอะ - dreamknight - 04-30-2017 ;3 เกม Tic Tac Toe ก็มา |