ติดตามเราได้ที่ Facebook ชื่อเพจ Planila Game Developer
อะไรนะ! มีเกมแนว Visual Novel ที่ไหนไม่มีตัวเลือกให้ผู้เล่นบ้าง? ก็เกมแนว Visual Novel ที่สร้างกันในบทที่แล้วน่ะสิ สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่ได้อ่านบทความชุด "Ren'Py พื้นฐาน" ตั้งแต่บทที่ 1 ถึงบทที่ 4 ผู้เขียนแนะนำให้ท่านย้อนกลับไปก่อนอ่านบทนี้ ในบทนี้ท่านจะได้เรียนเรื่องทิศทางการทำงานของเกมด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ การข้ามการทำงาน, การตรวจเงื่อนไข, การทำงานซ้ำ, และปิดท้ายบทนี้ด้วยการสร้างตัวเลือกให้เกมแนว Visual Novel ที่ผู้เล่นคุ้นเคยกัน
Block: เว้นวรรคหน้าคำสั่ง
ก่อนเรียนเรื่องใหม่ผู้เขียนต้องอธิบายเรื่องบล็อก (Block) ให้ท่านเข้าใจก่อน จะได้ไม่ต้องมาอธิบายเรื่องนี้ซ้ำบ่อย ๆ บล็อกคือกลุ่มของคำสั่งที่อยู่ในระดับเดียวกัน ผู้อ่านที่เคยเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C หรือ Java คงจะคุ้นเคยกับเครื่องหมาย { } ที่ครอบคำสั่งหลายตัว นั่นคือการบอกว่าคำสั่งเหล่านี้อยู่ในบล็อกเดียวกันหรือระดับเดียวกัน (เช่น กลุ่มคำสั่งที่ต่อจาก if-else, while, function)
บล็อกคืออะไร? บล็อกคือกลุ่มคำสั่งที่จะทำงานเมื่ออยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น คำสั่งที่อยู่ในบล็อกเดียวกันจะมีระดับเดียวกัน เรื่องนี้อธิบายให้มือใหม่เข้าใจยาก เอาเป็นว่าบล็อกคืออะไรช่างมันก่อน เรียนวิธีใช้บล็อกกันไปก่อน แล้วค่อยทำความรู้จักบล็อกกันในหัวข้อที่ต้องใช้บล็อกกันอีกที
ในภาษา Ren'Py ไม่ได้ใช้เครื่องหมาย { } ในการแบ่งบล็อก แต่จะใช้การเว้นวรรคหน้าคำสั่งเพื่อแบ่งบล็อก (ห้ามใช้ Tab แทนการเว้นวรรค อ่านรายละเอียดใน "ข้อระวังท้ายบท" ใน Ren'Py พื้นฐาน | บทที่ 3 กล่องข้อความ) คำสั่งที่อยู่ในบล็อกเดียวกันต้องเว้นวรรคหน้าคำสั่งเท่ากัน การเว้นวรรคหน้าคำสั่งจะเว้นวรรคกี่ครั้งก็ได้ สำหรับบล็อกย่อยที่อยู่ภายในบล็อกใหญ่แล้ว บล็อกย่อยนั้นต้องมีจำนวนเว้นวรรคมากกว่าบล็อกใหญ่ ตัวอย่างเช่น
Code:
# บล็อกที่ 1 (คำสั่งที่ 1-1)
# บล็อกที่ 1 (คำสั่งที่ 1-2)
# บล็อกที่ 2 (คำสั่งที่ 2-1)
# บล็อกที่ 2 (คำสั่งที่ 2-2)
# บล็อกที่ 3 (คำสั่งที่ 3-1)
# บล็อกที่ 3 (คำสั่งที่ 3-2)
# บล็อกที่ 2 (คำสั่งที่ 2-3)
# บล็อกที่ 2 (คำสั่งที่ 2-4)
# บล็อกที่ 1 (คำสั่งที่ 1-3)
จากตัวอย่างข้างบนสังเกตว่าคำสั่งในบล็อกที่ 1 ไม่ได้เว้นวรรคหน้าคำสั่ง (หน้าบรรทัด) ถือว่าเป็นบล็อกที่ใหญ่ที่สุด บล็อกที่ 2 เป็นบล็อกย่อยที่อยู่ในบล็อกที่ 1 มีการเว้นวรรคหน้าบล็อกที่ 2 พอควร ต่อมาคือบล็อกที่ 3 เป็นบล็อกย่อยที่อยู่ในบล็อกที่ 2 อีกที สังเกตจากคำสั่งของบล็อกที่ 3 อยู่ต่อจากบล็อกที่ 2 และมีการเว้นวรรคมากกว่าบล็อกที่ 2
ถ้ามีหลายบล็อกแล้วคำสั่งที่อยู่ในบล็อกที่ใหญ่ที่สุดจะทำงานเป็นลำดับแรก (ในตัวอย่างคือบล็อกที่ 1) ทำงานจากบรรทัดบนไปยังบรรทัดล่าง ส่วนบล็อกย่อยจะทำงานเมื่อตรงตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น ถ้าไม่ตรงเงื่อนไขของบล็อกที่ 2 เกมจะข้ามบล็อกที่ 2 ทั้งหมด รวมทั้งบล็อกที่ 3 ซึ่งอยู่ในบล็อกที่ 2 อีกทีด้วย หมายความว่าเกมจะทำงานแค่สองบรรทัดแรกและบรรทัดสุดท้ายเท่านั้น เพราะสามบรรทัดนี้อยู่ในบล็อกที่ 1 ส่วนบรรทัดอื่นเกมจะมองเหมือนว่าไม่มีตัวตนอยู่
ถ้าผู้อ่านยังไม่เข้าใจตอนนี้ก็ไม่เป็นไร ขอให้จำง่าย ๆ ว่าคำสั่งที่อยู่ในบล็อกเดียวกันจะเว้นวรรคหน้าบรรทัดเท่ากัน (วิธีจำแบบนี้ไม่เป็นจริงเสมอไป แต่สำหรับมือใหม่จำแบบนี้ไปก่อน) เมื่อได้เรียนหัวข้ออื่นแล้วท่านจะเห็นภาพของบล็อกชัดเจนขึ้น ส่วนเงื่อนไขของบล็อกมีอะไรบ้าง เราจะเรียนกันในหัวข้อต่าง ๆ ในบทนี้
Pass
ในกรณีที่ภาษา Ren'Py บังคับให้ใส่บล็อกย่อย แต่เราไม่มีคำสั่งที่ต้องการใส่ในบล็อกย่อยนั้น ภาษา Ren'Py ไม่อนุญาตให้ปล่อยเป็นบล็อกเปล่าได้ วิธีแก้คือใส่คำสั่ง pass ในบล็อกย่อยนั้น คำสั่ง pass เป็นคำสั่งที่ไม่ทำอะไรเลย ทำหน้าที่เป็น Pseudo Statement หลอกว่าในบล็อกย่อยมีคำสั่งแล้วทั้งที่จริงไม่มีคำสั่ง ตัวอย่างการใช้คำสั่ง pass คู่กับคำสั่ง if-else เช่น
Code:
if i > 10:
pass #เราไม่ต้องการใส่คำสั่งในบล็อกนี้
else:
"i มีค่าไม่เกิน 10 สินะ" #บล็อกนี้คือบล็อกที่เราต้องการใส่คำสั่งจริง
Label & Jump: กำหนดเพื่อข้าม
Label
label คือคำสั่งที่ตั้งชื่อเฉพาะให้แก่บรรทัดนั้น (ตั้งชื่อให้บรรทัดตัวเอง) คำสั่งที่ตามหลัง label จะเขียนเป็นบล็อกใหม่หรือบล็อกเดิมก็ได้ ไม่แตกต่างกัน รูปแบบของคำสั่ง label คือ
เช่น label check: หมายถึงตั้งชื่อ check ให้แก่บรรทัดนั้น (บรรทัด label check) คำสั่ง label ไม่มีประโยชน์เมื่อใช้งานเดี่ยว ๆ เพราะไม่มีความจำเป็นที่ต้องตั้งชื่อให้แก่คำสั่งที่ตั้งชื่อให้ตัวเอง เปลืองบรรทัดเปล่า ๆ คำสั่ง label จะใช้คู่กับคำสั่ง jump
start คือชื่อเฉพาะที่โปรแกรม Ren'Py สงวนไว้ เกมจะเริ่มต้นทำงานที่ label start: เป็นลำดับแรกเสมอ (เปรียบเหมือนฟังก์ชัน main ในภาษา C) ดังนั้นคำสั่งทุกอย่างในเกมต้องอยู่ต่อจากบรรทัด label start: เสมอ เพื่อให้คำสั่งเหล่านั้นสามารถทำงานในเกมได้
รูปที่ 5.1 การทำงานของคำสั่ง label และ jump
Jump
jump คือคำสั่งที่ข้ามไปทำงานบรรทัดที่มีชื่อเฉพาะ หมายความว่าเราต้องตั้งชื่อเฉพาะให้แก่บรรทัดเป้าหมายด้วยคำสั่ง label ก่อน แล้วเราจึงสามารถข้ามไปยังบรรทัดเป้าหมายด้วยคำสั่ง jump ได้ เมื่อข้ามไปยังบรรทัดเป้าหมายแล้ว เกมจะทำงานต่อจากบรรทัดเป้าหมายไปเรื่อย ๆ ไม่กลับมาบรรทัดที่ต่อจากคำสั่ง jump อีก (เป็นการข้ามแบบถาวร) รูปแบบของคำสั่ง jump คือ
ตัวอย่างการข้ามด้วยคำสั่ง jump เช่น
Code:
# บรรทัดนี้ทำงานเสมอ
jump check
# บรรทัดนี้จะไม่ทำงาน เพราะถูกข้ามไปยังบรรทัด label check:
label check:
# บรรทัดนี้จะทำงาน
label always:
# บรรทัดนี้ทำงานเสมอ แม้ว่าจะไม่ได้ข้ามมาบรรทัด label always: ก็ตาม
# บรรทัดนี้ทำงานเสมอ
สิ่งที่ต้องระวังคือคำสั่ง label ต้องตามท้ายด้วยเครื่องหมาย : แต่คำสั่ง jump ไม่มีเครื่องหมาย : ต่อท้าย อีกเรื่องที่ควรจำคือถ้าคำสั่งไม่ถูกข้าม เกมจะทำงานจากบรรทัดบนไปยังบรรทัดล่าง คำสั่งที่ต่อจากบรรทัด label สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเรียกใช้ด้วยคำสั่ง jump (เช่น คำสั่งที่ต่อจากบรรทัด label always: ในตัวอย่างข้างบน) นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำสั่ง jump เพื่อข้ามไปยังบรรทัดที่อยู่ในไฟล์สคริปต์อื่นได้อีกด้วย เนื่องจากโปรแกรม Ren'Py มองไฟล์สคริปต์ทุกไฟล์รวมเข้าด้วยกัน
If-Else: ตรวจเงื่อนไข
......
นี่เพิ่งแค่ 39% ของบทความนี้เท่านั้น บทความฉบับเต็มมีเยอะกว่านี้อีก!
เนื่องจากติดปัญหาเรื่องนโยบายการเผยแพร่บทความ ทำให้เราไม่สามารถเผยแพร่บทความฉบับเต็มลงในเว็บนี้ได้ อ่านฉบับเต็มได้ที่บทความต้นฉบับ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
บทความต้นฉบับ https://planila.blogspot.com/2019/08/ren...ter05.html